บทบาทของอังกฤษ และ สหรัฐอเมริกาต่อกรณีความขัดแย้ง ของ วิกฤตการณ์_ร.ศ._112

อังกฤษ ในนามของรัฐบาลบริเตนใหญ่ ได้เข้ามามีบทบาทในภูมิภาคนี้ในลักษณะถ่วงดุลอำนาจกับฝรั่งเศสเมื่อเห็นว่าความขัดแย้งระหว่างสยามกับฝรั่งเศสอาจขยายเป็นการทำสงคราม วันที่ 22 มีนาคม 2436 กัปตันโยนส์ ราชทูตอังกฤษได้ส่งโทรเลขไปยัง ลอร์ดโรสเบอรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อขออนุญาตส่งเรือรบสวิฟท์ (Swiff) เข้าไปคุ้มครองทรัพย์สมบัติของอังกฤษ และรักษาความสงบเรียบร้อย ในกรณีที่อาจเกิดสงครามขึ้นในพระนคร เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว วันที่ 20 เมษายน 2436 ราชนาวีอังกฤษได้ส่งเรือสวิฟท์ เข้ามาทอดสมอหน้าสถานทูตอังกฤษ

อังกฤษทราบว่าฝรั่งเศสได้สั่งเคลื่อนกำลังทางเรือให้มารวมกันอยู่ที่ไซ่ง่อน และสืบทราบว่าฝรั่งเศสจะส่งกองเรือเข้ามารุกรานสยาม ในขณะที่ฝ่ายสยามเองได้เตรียมการป้องกันปากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยได้เอาเรือมาจมขวางไว้ที่ปากน้ำ เมื่อข่าวนี้แพร่ออกไปก็ทำให้เกิดความวิตกกังวลในวงการค้าทั่วไป อังกฤษจึงคิดจะส่งเรือรบเข้ามาในสยามอีกเพื่อคุมเชิงฝรั่งเศส และเพื่อคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของชนชาติอังกฤษ แต่การดำเนินการของอังกฤษ กลับสร้างความตรึงเครียดขึ้นบริเวณอ่าวสยาม เมื่อฝรั่งเศสได้ทราบว่าอังกฤษได้จัดส่งเรือรบเข้ามาเพิ่มเติม และรู้สึกว่ามีทีท่าในทางส่งเสริมให้กำลังใจฝ่ายสยาม และอาจเป็นการคุกคามฝรั่งเศส จึงส่งเรือรบเข้ามาเพิ่มเติมอีกสองลำชื่อว่า โกแมต (Comete) และ แองกงสตัง (Inconstang) เดินทางเข้าสู่ปากน้ำเจ้าพระยา เพื่อกดดันฝ่ายสยาม

ส่วนทางด้านสหรัฐอเมริกา ที่มีอิทธิพลเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกคาบเกี่ยวกับฟิลิปปินส์ ได้รับการติดต่อจากสยามให้เข้ามาเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และเข้าร่วมเป็นอนุญาโตตุลาการ ซึ่งเห็นว่าจะเป็นหนทางที่แก้ไขความขัดแย้งโดยสันติ จึงยินดีเข้าร่วม แต่ได้รับการคัดค้านจากฝรั่งเศสเพราะฝรั่งเศสเห็นว่าท่าทีของสหรัฐอเมริกานั้นไม่แตกต่างจากอังกฤษ กล่าวคือสนับสนุนสยาม อีกทั้งนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาคือไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งใดๆ ถือนโยบายโดดเดี่ยว (Isolation) เมื่อฝรั่งเศสไม่เห็นด้วยจึงถอนตัวออกไป ปธน โกลเวอร์ คีฟแลนด์ ของสหรัฐพยายามเจรจากรณีของเหตุรศ 112 แต่ฝรั่งเศสปฏิเสธและกล่าวหาว่าไทยพยายามยึดดินแดนดังกล่าว.

ใกล้เคียง

วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2549 วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 วิกฤตรัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ค.ศ. 1975 วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา วิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907 วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป